ผู้สนับสนุน

หมู่บ้านห้วยผึ้งใหม่



บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งมานานประมาณ 45 ปี ปัจจุบันมีประชากร 51 หลังคาเรือน 96 ครอบครัว จำนวน 461 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธรองลงมาเป็นศาสนาคริสต์
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ เป็นพื้นที่สูงมีป่าเขา น้ำตก และธรรมชาติยังคงความ อุดมสมบูรณ์ มีอากาศหนาว เย็นสบายตลอดปี มีถนนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีน้ำตก 2 แห่ง และชมประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่ายังคงสภาพดั่งเดิม อาณาเขตพื้นที่หมู่บ้าน ทิศเหนือ ติดกับดอยหลวง ทิศใต้ติดกับบ้านห้วยผึ่งกะเหรี่ยง น้ำตกผาผึ้ง ทิศตะวันออกติดกับบ้านขุนแม่ลาน้อย ทิศตะวันตกติดกับดอยตะโลไทย
ระยะทางจากหมู่บ้านสถานที่ท่องเที่ยว ดอยตะโลไทย ระยะทาง 3 กิโลเมตร น้ำตกผาลั้ง ระยะทาง 6 กิโลเมตร น้ำตกไอสวรรค์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
งานเทศกาลของหมู่บ้าน งานเทศกาลปีใหม่ (กินวอ) จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมของทุกปี สถานที่จัดงาน บริเวณสนามโรงเรียนของหมู่บ้าน การแสดงประกอบด้วย การเล่นลูกข่าง ยิงหน้าไม้ โยนลูกช่วง เป่าแคนม้ง ร้องเพลงม้ง เต้นรำม้งประยุกต์ เป่าขลุ่ยม้ง และการละเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย

สถานที่ท่องเที่ยว: น้ำตกผาผึ้ง เป็นน้ำตกจำนวน 13 ชั้น สามารถชมและสัมผัสธรรมชาติ ได้ในทุก ๆ ชั้น ของน้ำตก ใช้เวลาในการเดินเที่ยว 3 ชั่วโมง ชมน้ำตก ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และชมผาเงิบ ชมหินงอก หินย้อย และต้นไม้ใหญ่ น้ำตกไอสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีความงดงาม มีน้ำตก 3 ชั้น ชมน้ำตกและป่าไม้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และระหว่างเส้นทางเดิน ไปน้ำตกชมไร่กะหล่ำ ไร่แครอท และการทำนาแบบขั้นบันได ตามแบบวิถีชีวิตของเกษตรกรชนเผ่าของหมู่บ้าน
กิจกรรมการแสดงในศูนย์วัฒนธรรม หรือศูนย์แสดงกิจกรรมของหมู่บ้าน ประกอบด้วย การแสดงวัตถุศิลป์ในศูนย์วัฒนธรรมและข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน แสดงการยิงหน้าไม้ การเต้นรำม้งประยุกต์ การเล่นลูกช่วง และการเป่าแคนม้ง และกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ประกอบด้วย กิจกรรมการโม่ข้าวโพด การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การเล่นลูกข่าง การยิงหน้าไม้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ปลายเดือนธันวาคม จัดเทศกาลปีใหม่ม้ง เทศกาลกินวอ

source : http://www.maelanoi.net

ประวัติโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ องค์พระบรมราชูปถัมภ์แห่งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 ขึ้น และพระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 3.5 ล้านบาท
และมูลนิธิกองทุนสมเด็จพระศรีนครินทรทราบรมราชชนนี พระราชทานเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท รวทเป็นเงินทั้งสิ้น 4.5 ล้านบาท
ในการก่อสร้างโรงเรียนโดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์และกระทรวงศึกษาธิการได้ตกลงที่จะสร้างเป็นโรงเรียนประเภท
ศึกษาสงเคราะห์สำหรับเด็กชาวไทยภูเขา และเด็กที่ไร้โอกาสทางการศึกษา โดยอยู่ประจำทั้งหมดแบบสหศึกษา
มุ่งเน้นการสอนให้เด็กนักเรียนสามารถประกอบอาชีพการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลี้ยงตนเองได้
ซึ่งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้มอบให้กองพลพัฒนาที่ 3 กองทัพภาคที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน
ณ บ้านทุ่งรวงทอง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้ก่อสร้างหอนอน นักเรียน 2 หลัง โรงครัว 1 หลัง
บ้านพักครู 1 หลัง และหอส่งน้ำ 1 หลัง

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2535
เป็นโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับนักเรียนเข้าเรียน
ในปีการศึกษา 2535 จำนวน 50 คน โดยฝากเรียนที่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน เนื่องจากโรงเรียนยังก่อสร้าง
ไม่แล้วเสร็จ โดยมีนายวิโรจน์ ชัยบูรณ์ อาจารย์ 2 ระดับ 6 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน เป็นผู้บริหาร
และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งของโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2536 จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 มีพื้นที่ 154 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา อยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาน้อย ประมาณ 7 กิโลเมตร
ปัจจุบันมีนายอินสอน อินตาวงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 925 คน มีครูประจำการ31 คน ไปช่วยราชการ 1 คน
พนักงานราชการ 21 ตำแหน่ง อัตราว่าง 2ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง 2 คน ลูกจ้างประจำ 9 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน

source : http://www.maelanoi.net/

ประวัติโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์



โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแม่ลาน้อย จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัด กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 ตามนโยบายของกรมสามัญศึกษาที่จะขยายให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นทุกอำเภอ โดยเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2519 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน 29 คนโดยในระยะแรกได้อาศัยเรียนที่อาคารเรียน โรงเรียนบ้านแม่ลาน้อย ( ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลแม่ลาน้อย ) และได้ขอครูมาช่วยปฏิบัติการสอน 2 คน คือ นายประยูร ลังกาพินธ์ วุฒิ กศ.บ และนายน้อย แซ่เจีย วุฒิ พ.ม. โดยมีนายจินดา ต๊ะปินตา ศึกษาธิการอำเภอแม่ลาน้อย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ปีการศึกษา 2519 5 ตุลาคม 2519 นายจินดา ต๊ะปินตา ย้ายไปรับตำแหน่ง ศึกษาธิการอำเภอแม่สะเรียง และนายเมืองดี นนทธรรม ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน 21 ตุลาคม 2519 นายสมพร ชวฤทธิ์ อาจารย์ 1 โรงเรียนปายวิทยาคาร มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 1 ธันวาคม 2519 นายทองดำ ประสิทธ์ ได้รับบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนักการภารโรง 18 ธันวาคม 2519 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 970,000 บาท สำหรับ ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก จำนวน 6 ห้องเรียน บ้านพักครูจำนวน 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง โดยเริ่มวางผังก่อสร้าง บนที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมสามัญได้เช่าจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 57 ไร่ 2 งาน 62.10 ตารางวา

ปีการศึกษา 2520 1 กุมภาพันธ์ 2520 นายประยูร ลังกาพินธ์ วุฒิ กศ.บ มารายงานตัวรับตำแหน่งอาจารย์ 1 นายสุรศักดิ์ สุภานันท์ วุฒิ ปวส. มารายตัวเข้ารับตำแหน่งครู 2 1 กันยายน 2520 การก่อสร้างโรงเรียนแบบ 216 ก เสร็จเรียบร้อย จึงได้ย้ายโรงเรียนมาจากโรงเรียนแม่ลาน้อยซึ่งในปีนี้มีนักเรียนทั้งสิ้น 71 คน ครูอาจารย์ 4 คน และภารโรง 1 คนปีการศึกษา 2521 เปิดสอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 เป็นปีแรก มีนักเรียนรวม 145 คน ครู 9 คน ภารโรง 2 คนปีการศึกษา 2523 สอนหลักสูตร พุทธศักราช 2503 เป็นรุ่นสุดท้ายและใช้หลักสูตร ฯ 2521 มีจำนวนนักเรียนชั้น ม. 1 - ม. 3 ทั้งหมด 140 คน

20 ธันวาคม 2523 ได้มีการจัดงาน "วันซาวธันว์" เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นดำริของนายมนสมุทร ปานพรหม ถือเอาวันขุดหลุมก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ก ( 20 ธันวาคม 2519 ) เป็นวันกำเนิดโรงเรียน จัดให้มีกิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บูรพาจารย์ และกิจกรรมวิ่งประเพณีไป - กลับ ระหว่างโรงเรียนกับหมู่บ้านวังคันปีการศึกษา 2535 เปิดสอนมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด 45 คนปีการศึกษา 2537 นักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรก 42 คนปีการศึกษา 2538 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 7,124,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียน 216 ล ( ปรับปรุง 29 ) จำนวน 1 หลัง




ปีการศึกษา 2540 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ เป็น ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ( สั่ง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2540 )ปีการศึกษา 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 118,512 บาท ให้โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักนักเรียน จำนวน 1 หลัง และห้องน้ำห้องส้วม แบบ 6 ที่ จำนวน 2 หลัง ปีการศึกษา 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อทอดพระเนตรโครงการจัดที่พักนักเรียน และกิจกรรมด้านการเรียนการสอนปีการศึกษา 2544 12 กุมภาพันธ์ 2545 นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ เปิดใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ปีการศึกษา 2546 14 พฤศจิกายน 2546 นายวิเชียร ชูเกียรติ มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์

ปีการศึกษา 2547 ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน

ผู้สนับสนุน