ผู้สนับสนุน

หมู่บ้านห้วยผึ้งใหม่



บ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่โถ อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ตั้งมานานประมาณ 45 ปี ปัจจุบันมีประชากร 51 หลังคาเรือน 96 ครอบครัว จำนวน 461 คน ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธรองลงมาเป็นศาสนาคริสต์
สภาพทั่วไปทางภูมิศาสตร์ เป็นพื้นที่สูงมีป่าเขา น้ำตก และธรรมชาติยังคงความ อุดมสมบูรณ์ มีอากาศหนาว เย็นสบายตลอดปี มีถนนสามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งมีน้ำตก 2 แห่ง และชมประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่ายังคงสภาพดั่งเดิม อาณาเขตพื้นที่หมู่บ้าน ทิศเหนือ ติดกับดอยหลวง ทิศใต้ติดกับบ้านห้วยผึ่งกะเหรี่ยง น้ำตกผาผึ้ง ทิศตะวันออกติดกับบ้านขุนแม่ลาน้อย ทิศตะวันตกติดกับดอยตะโลไทย
ระยะทางจากหมู่บ้านสถานที่ท่องเที่ยว ดอยตะโลไทย ระยะทาง 3 กิโลเมตร น้ำตกผาลั้ง ระยะทาง 6 กิโลเมตร น้ำตกไอสวรรค์ ระยะทาง 5 กิโลเมตร
งานเทศกาลของหมู่บ้าน งานเทศกาลปีใหม่ (กินวอ) จัดขึ้นประมาณเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคมของทุกปี สถานที่จัดงาน บริเวณสนามโรงเรียนของหมู่บ้าน การแสดงประกอบด้วย การเล่นลูกข่าง ยิงหน้าไม้ โยนลูกช่วง เป่าแคนม้ง ร้องเพลงม้ง เต้นรำม้งประยุกต์ เป่าขลุ่ยม้ง และการละเล่นพื้นเมืองอื่น ๆ อีกมากมาย

สถานที่ท่องเที่ยว: น้ำตกผาผึ้ง เป็นน้ำตกจำนวน 13 ชั้น สามารถชมและสัมผัสธรรมชาติ ได้ในทุก ๆ ชั้น ของน้ำตก ใช้เวลาในการเดินเที่ยว 3 ชั่วโมง ชมน้ำตก ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และชมผาเงิบ ชมหินงอก หินย้อย และต้นไม้ใหญ่ น้ำตกไอสวรรค์ เป็นน้ำตกที่มีความงดงาม มีน้ำตก 3 ชั้น ชมน้ำตกและป่าไม้ธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และระหว่างเส้นทางเดิน ไปน้ำตกชมไร่กะหล่ำ ไร่แครอท และการทำนาแบบขั้นบันได ตามแบบวิถีชีวิตของเกษตรกรชนเผ่าของหมู่บ้าน
กิจกรรมการแสดงในศูนย์วัฒนธรรม หรือศูนย์แสดงกิจกรรมของหมู่บ้าน ประกอบด้วย การแสดงวัตถุศิลป์ในศูนย์วัฒนธรรมและข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน แสดงการยิงหน้าไม้ การเต้นรำม้งประยุกต์ การเล่นลูกช่วง และการเป่าแคนม้ง และกิจกรรมสำหรับนักท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ประกอบด้วย กิจกรรมการโม่ข้าวโพด การตำข้าวด้วยครกกระเดื่อง การเล่นลูกข่าง การยิงหน้าไม้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ปลายเดือนธันวาคม จัดเทศกาลปีใหม่ม้ง เทศกาลกินวอ

source : http://www.maelanoi.net

ประวัติโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ องค์พระบรมราชูปถัมภ์แห่งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้สร้างโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 ขึ้น และพระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 3.5 ล้านบาท
และมูลนิธิกองทุนสมเด็จพระศรีนครินทรทราบรมราชชนนี พระราชทานเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท รวทเป็นเงินทั้งสิ้น 4.5 ล้านบาท
ในการก่อสร้างโรงเรียนโดยมูลนิธิราชประชานุเคราะห์และกระทรวงศึกษาธิการได้ตกลงที่จะสร้างเป็นโรงเรียนประเภท
ศึกษาสงเคราะห์สำหรับเด็กชาวไทยภูเขา และเด็กที่ไร้โอกาสทางการศึกษา โดยอยู่ประจำทั้งหมดแบบสหศึกษา
มุ่งเน้นการสอนให้เด็กนักเรียนสามารถประกอบอาชีพการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลี้ยงตนเองได้
ซึ่งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ได้มอบให้กองพลพัฒนาที่ 3 กองทัพภาคที่ 3 จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียน
ณ บ้านทุ่งรวงทอง อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยได้ก่อสร้างหอนอน นักเรียน 2 หลัง โรงครัว 1 หลัง
บ้านพักครู 1 หลัง และหอส่งน้ำ 1 หลัง

กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2535
เป็นโรงเรียนประเภทศึกษาสงเคราะห์ สังกัดกองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ รับนักเรียนเข้าเรียน
ในปีการศึกษา 2535 จำนวน 50 คน โดยฝากเรียนที่ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน เนื่องจากโรงเรียนยังก่อสร้าง
ไม่แล้วเสร็จ โดยมีนายวิโรจน์ ชัยบูรณ์ อาจารย์ 2 ระดับ 6 ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน เป็นผู้บริหาร
และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งของโรงเรียน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2536 จนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 มีพื้นที่ 154 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา อยู่ห่างจากอำเภอแม่ลาน้อย ประมาณ 7 กิโลเมตร
ปัจจุบันมีนายอินสอน อินตาวงษ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน มีนักเรียนทั้งหมด 925 คน มีครูประจำการ31 คน ไปช่วยราชการ 1 คน
พนักงานราชการ 21 ตำแหน่ง อัตราว่าง 2ตำแหน่ง ครูอัตราจ้าง 2 คน ลูกจ้างประจำ 9 คน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน

source : http://www.maelanoi.net/

ประวัติโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์



โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแม่ลาน้อย จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัด กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 ตามนโยบายของกรมสามัญศึกษาที่จะขยายให้มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้นทุกอำเภอ โดยเริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ 2519 มีนักเรียนสมัครเข้าเรียน 29 คนโดยในระยะแรกได้อาศัยเรียนที่อาคารเรียน โรงเรียนบ้านแม่ลาน้อย ( ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลแม่ลาน้อย ) และได้ขอครูมาช่วยปฏิบัติการสอน 2 คน คือ นายประยูร ลังกาพินธ์ วุฒิ กศ.บ และนายน้อย แซ่เจีย วุฒิ พ.ม. โดยมีนายจินดา ต๊ะปินตา ศึกษาธิการอำเภอแม่ลาน้อย รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่

ปีการศึกษา 2519 5 ตุลาคม 2519 นายจินดา ต๊ะปินตา ย้ายไปรับตำแหน่ง ศึกษาธิการอำเภอแม่สะเรียง และนายเมืองดี นนทธรรม ผู้ช่วยศึกษาธิการอำเภอ มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่แทน 21 ตุลาคม 2519 นายสมพร ชวฤทธิ์ อาจารย์ 1 โรงเรียนปายวิทยาคาร มารักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ 1 ธันวาคม 2519 นายทองดำ ประสิทธ์ ได้รับบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งนักการภารโรง 18 ธันวาคม 2519 ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 970,000 บาท สำหรับ ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ก จำนวน 6 ห้องเรียน บ้านพักครูจำนวน 2 หลัง บ้านพักภารโรง 1 หลัง โดยเริ่มวางผังก่อสร้าง บนที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมสามัญได้เช่าจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวนทั้งสิ้น 57 ไร่ 2 งาน 62.10 ตารางวา

ปีการศึกษา 2520 1 กุมภาพันธ์ 2520 นายประยูร ลังกาพินธ์ วุฒิ กศ.บ มารายงานตัวรับตำแหน่งอาจารย์ 1 นายสุรศักดิ์ สุภานันท์ วุฒิ ปวส. มารายตัวเข้ารับตำแหน่งครู 2 1 กันยายน 2520 การก่อสร้างโรงเรียนแบบ 216 ก เสร็จเรียบร้อย จึงได้ย้ายโรงเรียนมาจากโรงเรียนแม่ลาน้อยซึ่งในปีนี้มีนักเรียนทั้งสิ้น 71 คน ครูอาจารย์ 4 คน และภารโรง 1 คนปีการศึกษา 2521 เปิดสอนมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 เป็นปีแรก มีนักเรียนรวม 145 คน ครู 9 คน ภารโรง 2 คนปีการศึกษา 2523 สอนหลักสูตร พุทธศักราช 2503 เป็นรุ่นสุดท้ายและใช้หลักสูตร ฯ 2521 มีจำนวนนักเรียนชั้น ม. 1 - ม. 3 ทั้งหมด 140 คน

20 ธันวาคม 2523 ได้มีการจัดงาน "วันซาวธันว์" เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นดำริของนายมนสมุทร ปานพรหม ถือเอาวันขุดหลุมก่อสร้างอาคารเรียน แบบ 216 ก ( 20 ธันวาคม 2519 ) เป็นวันกำเนิดโรงเรียน จัดให้มีกิจกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บูรพาจารย์ และกิจกรรมวิ่งประเพณีไป - กลับ ระหว่างโรงเรียนกับหมู่บ้านวังคันปีการศึกษา 2535 เปิดสอนมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นปีแรก มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งหมด 45 คนปีการศึกษา 2537 นักเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายรุ่นแรก 42 คนปีการศึกษา 2538 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษา จำนวน 7,124,000 บาท ก่อสร้างอาคารเรียน 216 ล ( ปรับปรุง 29 ) จำนวน 1 หลัง




ปีการศึกษา 2540 กรมสามัญศึกษาได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาจากตำแหน่งอาจารย์ใหญ่เป็นตำแหน่งผู้อำนวยการและตำแหน่งผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ เป็น ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ ( สั่ง ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2540 )ปีการศึกษา 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 118,512 บาท ให้โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ก่อสร้างปรับปรุงอาคารที่พักนักเรียน จำนวน 1 หลัง และห้องน้ำห้องส้วม แบบ 6 ที่ จำนวน 2 หลัง ปีการศึกษา 2542 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมโรงเรียน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อทอดพระเนตรโครงการจัดที่พักนักเรียน และกิจกรรมด้านการเรียนการสอนปีการศึกษา 2544 12 กุมภาพันธ์ 2545 นายอุบลศักดิ์ ขีดสร้อย มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ เปิดใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ปีการศึกษา 2546 14 พฤศจิกายน 2546 นายวิเชียร ชูเกียรติ มารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์

ปีการศึกษา 2547 ผ่านการประเมินโรงเรียนต้นแบบ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน

พระธาตุธัมมิกราช

พระธาตุธัมมิกราช

พระธาตุธัมมิกราช

พระธาตุธัมมิกราช สร้างถวายไว้เพื่อ เป็นพุทธบูชาธรรมบูชาสังฆบูชา

สืบต่อพระพุทธศาสนา และฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

1884000 องค์
พร้อมพระธาตุุ พระอรหันต์สาวกคัมภีร์พระธรรม พระบูชา พระเครื่อง

84000 องค์
เป็นที่สักการะบูชา ของมนุษย์เทวดา พรหม ทุกหมู่เหล่า

ป้ายประวัติ

พระพุทธรูป ป้างสมาธิ
ภาพบรรยากาศภายนอก

ความสวยงามหน้าวัด
พระพุทธวิริยะวรมัตถ์

ที่มา : www.maelanoi.net

น้ำตกทีราชันย์

ความเป็นมา

น้ำตกทีราชันย์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้ายตอนล่าง ท้องที่การปกครอง บ้านแม่สะกั๊วะ ตำบลท่าผาปุ้ม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกาศตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 178 (พ.ศ.2506)

ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้ายตอนล่าง บริเวณน้ำตกทีราชันย์มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อนโอบล้อม มีลำห้วยน้ำตกทีราชันย์ไหลผ่าน ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของต้นน้ำตกทีราชันย์มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่า ทั้งสภาพป่าดงดิบ ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และพืชสมุนไพร มีค่าและหายากจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่น้ำตกทีราชันย์ สัตว์ป่าหายาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหายาก เป็นต้น สภาพธรรมชาติและทัศนียภาพทั้งป่าไม้ สายธาร ขุนเขาที่สวยงาม อากาศเย็นสบาย เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลชุมชุนมากนัก


สภาพปัจจุบันน้ำตกทีราชันย์จะเป็นที่รู้จักเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่และชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวบ้างเพราะไม่ค่อยมีใครรู้จัก หรือไม่ก็เฉพาะนักท่องเที่ยวชอบนิยมไพร เนื่องจากแต่ก่อนถนนหรือเส้นทางการเดินทางลำบาก เป็นระยะทางไกลพอสมควร ขณะนี้ ได้มีการปรับปรุงเส้นทาง รถยนต์สามารถเข้าถึง ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงได้เสนอปัญหาโดยผ่านการประชาคมหมู่บ้าน ในเวที อบต.สัญจรได้เสนอให้ทางราชการเร่งหามาตรการที่จะอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในบริเวณดังกล่าว เพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น จากเดิมที่จะต้องรอนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ โฮมสเตย์ ของหมู่บ้าน ซึ่งนานๆจะมีเข้ามาใช้บริการสักครั้ง จากการจัดเข้ามาของทางราชการบ้างหรือของเอกชนบ้าง อีกทั้งให้มีการจัดการให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชนโดยส่วนรวมอย่างยั่งยืนตลอดไป























ที่มา : www.maelanoi.net


วัดแม่ปาง

วัดแม่ปาง

เดิมชื่อ "สำนักสงฆ์ป่าริมธาราวาส" ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านแม่ปาง ตำบลสันติคีรี

บนเนื้อที่ประมาณ 19 ไร่ 2 งาน ห่างจากตัวอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน บนเส้นทาง

ถนน108

สายแม่ลาน้อย - ขุนยวม ประมาณ 12 กิโลเมตร วัดแม่ปาง ตำบลสันติคีรี อำเภอแม่ลาน้อย

จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เริ่มสร้างวันที่ 30 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2537

สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2546 วัดแม่ปางมีอุโบสถสวยงามมาก รวบรวมเอาศิลปะ

เด่นของล้านนา ล้านช้าง ไทยใหญ่ ภาคกลาง รวมมีจุดเด่น เช่น ลายปูนปั้น

มณฑป ซุ้มเรือนแก้ว ซุ้มเรือนหงษ์ ซุ้มหน้าต่าง ใบระกา

วัดแม่ปางวัดแม่ปาง

วัดแม่ปางวัดแม่ปาง

วัดแม่ปางวัดแม่ปาง

วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล









วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล




















      ถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซต์ ที่ประกอบด้วยหินในตระกูลคาร์บอเนต ชนิดแอนไฮดรัสคาร์บอเนต ที่มีความใสกาวบริสุทธิ์มีรูปลักษณ์หลากหลายลักษณะ มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนราบ ส่วนใหญ่เป็นรูปหกเหลี่ยมยาวยอดแหลมหรือรูปสี่แหลมขนมเปียกปูน มีแนวแตกเรียบที่สมบูรณ์ 3 แนว

เป็นสิ่งที่พบได้ยากในธรรมชาติ เพราะต้องมีองค์ประกอบที่ครบทั้ง หินปูน ไอน้ำร้อนที่ได้จะน้ำพูร้อนธรรมชาติ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ไอสารละลายแคลเซียมไบคาร์บอเนตที่กลั่นตัวในอุณหภูมิสูงสุดและต้องอิ่มตัวในอุณหภูมิที่ต่ำสุด

       ถ้ำแก้วโกมลได้รับยกย่องว่าเป็นถ้ำที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองไทย อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในถ้ำผลึกแร่แคลไซต์ที่ค้นพบเพียง 3 แห่งทั่วโลก คือพบที่ ประเทศจีน ประเทศออสเตรเลียและประเทศไทย

       จากการค้นพบด้วยความบังเอิญ เมื่อวิศวกรเหมืองแร่ ประจำสำนักงานทรัพยากรธรณี จังหวัดแม่ฮ่องสอน ดำเนินการตรวจสอบประทานบัตรเหมืองแร่ฟลูออไรต์ ในเขตประทานบัตรเลขที่ 12627/13903 ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พี.วี.ซัพพลายส์ (ไทยแลนด์) เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536

ทำให้พบถ้ำที่เต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ที่มีความบริสุทธิ์อยู่ภายใน โดยไม่พบแร่ฟลูออไรต์ดั่งที่ตั้งใจค้นหา การพัฒนาอุโมงค์เหมืองจึงหยุดลง ระยะแรกของการตรวจพบถ้ำผลึกแคลไซต์ สภาพทางเข้าถ้ำไม่ได้มีความมั่นคงแข็งแรง สุ่มเสี่ยงต่อการพังทลาย
       จนกระทั่งปี พ.ศ.2538 ทางกรมทรัพยากรธรณี ได้ปรับปรุงทางเข้าถ้ำใหม่ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยทำการระเบิดปากถ้ำให้กว้างขึ้น พร้อมทั้งฉีดซีเมนต์ก่อโครงเหล็กยึดเพดาน ให้ตัวถ้ำมีความมั่นคง มีการสร้างทางเดินบันไดคอนกรีตภายในถ้ำเพื่อเตรียมความพร้อมไว้อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

ติดตั้งโคมไฟสีเพื่อส่องสะท้อนความงดงามของผลึกแคลไซต์ในถ้ำ และจัดทำท่อระบบระบายอากาศวางระบบท่อให้อากาศถ่ายเทอย่างกลมกลืนกับธรรมชาติของถ้ำมากที่สุด เพื่อให้ภายในถ้ำมีออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับดำเนินการกันเขตพื้นที่รอบถ้ำในรัศมี 200 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 51 ไร่ ให้ออกจากพื้นที่ประทานบัตร และตั้งเป็น"วนอุทยานถ้ำแม่ลาน้อย"

       ในปี พ.ศ. 2544 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรถ้ำแห่งนี้ พร้อมๆกับได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า "แก้วโกมล" นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้พระราชทานนามห้องต่างๆ ใน ถ้ำแก้วโกมลซึ่งมีอยู่ภายในถ้ำ จำนวน 5 ห้องให้อีกด้วย

เริ่มจากห้องแรก "พระทัยธาร"

        
มีที่มาจากการที่น้ำในถ้ำ ละลายกับหินปูนทำให้เกิดภาพน้ำไหลเหมือนเป็นธารน้ำตก พระทัยธารซึ่งเป็นห้องแรกนี้ เป็นห้องที่ได้รับความเสียหายจากการระเบิดอุโมงค์มากที่สุด

สังเกตได้จากเศษหินที่กระจัดกระจายอยู่ภายใน มีโพรงที่จากการทำเหมืองตามสายแร่ฟลูออไรตหินงอก หินย้อยต่างๆได้รับความเสียหายจากการสำรวจไปมาก จึงไม่งดงามมากนัก ความงามของห้องที่ก็คงจะมีเพียงร่องรอยลวดลายสายน้ำตกอันเป็นที่มาของชื่อห้องเท่านั้น

ถัดมาเป็นห้องที่ 2 มีชื่อพระราชทานว่า "วิมานเมฆ"

      ตั้งตามลักษณะของแร่ที่อยู่ตามเพดาน ซึ่งดูคล้ายปุยเมฆเป็น ห้องนี้มีลักษณะเป็นช่องยาว บางช่วงเป็นรูแคบ ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของโพรงน้ำไหลในอดีต ทำให้มีความลำบากในการเดินสำรวจ มีหินงอก หินย้อย และบางจุดมีผลึกแร่แคลไซต์เกาะอยู่แต่มีความงดงามไม่มากนัดเนื่องจาก ผลึกบางส่วนได้แตกหักเสียหายและมีรอยเปื้อนจากการถูกจับต้องระหว่างการเข้าสำรวจ

ลึกเข้าไปเป็นห้องที่ 3 ชื่อพระราชทานว่า "เฉกหิมพานต์"

       เกิดจากจินตนาการขององค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงทอดพระเนตรแล้วเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ตามวรรณคดีไทย ห้องนี้เป็นห้องขนาดใหญ่มีหินงอกหินย้อย สีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาล

สำรวจต่อไปจะพบห้องที่ 4 ที่มีชื่อพระราชทานอันเพราะพริ้งว่า "ม่านผาแก้ว"

      
ภายในห้องนี้เราจะเริ่มเห็นความ งดงามที่เต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ สีดั่งแก้วใสขาวเกาะอยู่ราวกับม่านเต็มถ้ำ มีทั้งแบบที่คล้ายปะการัง คล้ายเข็ม และเกล็ดน้ำแข็ง ผลึกทั้งสามแบบมีความเปราะบางที่สุด ได้รับผลกระทบจากอากาศภายนอกจนลดน้อยลงไปมาก ส่วนผลึกรูปปะการังเป็นผลึกขนาดเล็กละเอียด จับตัวต่อเนื่องเป็นผืนจนเต็มผนังอย่างสวยงาม พบตอนในสุดของห้อง

และส่วนชั้นในสุดคือห้องที่ 5 มีชื่อพระราชทานว่า "เพริศแพร้วมณีบุปผา"

       
ซึ่งโดดเด่นไปด้วยผลึกแร่มีความละเอียดเป็นรูปเข็มคล้ายเกล็ดน้ำแข็ง เปราะบาง แตกหักง่าย จัดเป็นผลึกที่ สวยงามและเด่นที่สุดของถ้ำ (เป็นจุดที่ได้รับการโปรโมตจากททท.) ห้องนี้เป็นห้องสุดท้ายโดยพบอยู่ด้านในสุด เป็นห้องที่สวยงามที่สุดของถ้ำ

เนื่องจากมีผลึกแร่แคลไซต์ที่มีความสมบูรณ์เป็นจำนวนมากและมีรูปแบบหลากหลาย โดยเฉพาะผลึกแร่แคลไซต์รูปเข็มและคล้ายปะการัง ห้องนี้นอกจากอยู่ลึกที่สุด สวยงามที่สุดแล้ว อากาศยังน้อยด้วย ไม่ถ่ายเท



        ตามจุดต่างๆของถ้ำ มีการติดตั้งไฟสปอตไลท์ส่องตามจุดต่าง ๆ แต่จะเปิดเฉพาะเมื่อมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชมเท่านั้น เพื่อไม่ให้ความร้อนจากหลอดไฟส่งผลกระทบต่อผลึกแคลไซต์ที่สร้างความงามให้แก่ถ้ำ ถ้ำแก้วโกมลเป็นถ้ำที่สะอาด ไม่มีกลิ่นเหม็นอับของมูลค้างคาว เพราะมีการป้องกันไม่ให้ค้างคาวเข้าไปอาศัยภายในถ้ำ









ถ้ำแก้วโกมล









 


ถ้ำแก้วโกมล ถ้ำแก้วโกมล

ถ้ำแก้วโกมล ถ้ำแก้วโกมล

ประเพณีเขาวงกต



เขาวงกต
เป็นประเพณีของชาวอำเภอแม่ลาน้อยที่ประชาชนในท้องถิ่นได้อนุรักษ์
สืบสานและดำรงไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามตามความเชื่อของพระพุทธศาสนาซึ่งมีความเชื่อว่า
กาลสมัยที่พระพุทธเจ้าอยู่ในทศชาติที่..10..(พระเวสสันดร) ซึ่งพระองค์ทรงบริจาคช้างเผือกแก้ว
ซึ่งเป็นช้างคู่บ้านเมืองให้แก่พราหมณ์ของเมืองกลิงคราช เป็นเหตุให้กรุงสีพีเกิดอลหม่าน แห้งแล้ง
มหาชนจึงมาร้องทุกข์ต่อพระเจ้ากรุงสัญชัยให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากบ้านเมืองพร้อมด้วย
พระนางมัทรีและพระโอรสและพระธิดาเสด็จเข้าไปบำเพ็ญเพียรในป่าและเดินทางมาถึงเขาวงกต
การเข้าเขาวงกต จะเข้าจนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ พอถึงเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ ก็จะนิมนต์พระภิกษุมารับเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมที่วัด และประชาชนในอำเภอแม่ลาน้อยก็จะร่วมกันทำบุญที่วัด แม่ลาน้อยเป็นเสร็จพิธี
กิจกรรมภายในงาน : วัดแม่ลาน้อยเหนือ
ที่มา : http://www.maelanoi.net/

เขตการปกครอง



การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองเป็น 8 ตำบล
1. ตำบลแม่ลาน้อย
2. ตำบลสันติคีรี
3. ตำบลแม่ลาหลวง
4. ตำบลแม่โถ
5. ตำบลแม่นาจาง
6. ตำบลขุนแม่ลาน้อย
7. ตำบลท่าผาปุ้ม
8. ตำบลห้วยห้อม
1 เทศบาลตำบล
เทศบาลตำบลแม่ลาน้อย ประกอบด้วยหมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน และแบ่งการบริหารงานออกเป็น 7 ชุมชน
ดังนี้ ** 1.) หมู่ 1 บ้านแม่ลาน้อย - ชุมชนร่วมใจพัฒนา - ชุมชนหางบ้าน - ชุมชนกองมู - ชุมชนดอยแก้ว
2.) หมู่ 2 ชุมชนบ้านป่าหมาก
3.) หมู่ 5 ชุมชนบ้านวังคัน
4.) หมู่ 9 ชุมชนบ้านทุ่งสารภี

ตำบลแม่ลาน้อย ประกอบด้วยหมู่บ้าน 11 หมู่บ้าน **
1.) หมู่ี่ 3 บ้านแม่สะปึ๋งเหนือ (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านพะตะบอคี)
2.) หมู่ี่ 4 บ้านแม่ฮุ (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านวาสุบี)
3.) หมู่ 6 บ้านแม่แลบ (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านขุนแม่แลบ)
4.) หมู่ 7 บ้านแม่งะ (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านมอร์เดย์)
5.) หมู่ี่ 8 บ้านท่าสองแคว
6.) หมู่ 10 บ้านทุ่งรวงทอง
7.) หมู่ี่ 11บ้านละมอง
8.) หมู่ี่ 12 บ้านแม่ลางิ้ว
9.) หมู่ 13 บ้านพระบาทห้วยผึ้ง
10.)หมู่ี่ 14 บ้านห้วยริน (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านห้วยมะไฟ)
11.)หมู่ 15 บ้านแม่สะปึ๋งใต้ (มีหมู่บ้านบริวารคือบ้านแม่สะปึ๋งกลาง)
ตำบลสันติคีรี ประกอบด้วยหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน
1.) หมู่ 1 บ้านแม่ปาง
2.)
3.) หมู่ 3 บ้านแม่ฮุ
4.) หมู่ 4 บ้านห้วยมะกอก
5.)
6.)
7.) หมู่ 7 บ้านหัวลา
8.) หมู่ 8 บ้านหัวตาด
ตำบลแม่ลาหลวงประกอบด้วยหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน **
1.) หมู่ี่ 1 บ้านแม่ลาหลวง
2.) หมู่ี่ 2 บ้านแม่สุ
3.) หมู่ี่ 3 บ้านห้วยกองเป๊าะ
4.) หมู่ี่ 4 บ้านห้วยกู่ป๊ะ
5.) หมู่ี่ 5 บ้านสันติสุข
6.) หมู่ี่ 6 บ้านห้วยไก่ป่า
7.) หมู่ี่ 7 บ้านสันติพัฒนา
8.) หมู่ี่ 8 บ้านทุ่งป่าคา
9.) หมู่ี่ 9 บ้านสุขใจ
ตำบลแม่โถ ประกอบด้วยหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน
1.) หมู่ 1 บ้านหัวแม่โถ
2.) หมู่ี่ 2
3.) หมู่ 3 บ้านแม่โถกลาง
4.) หมู่ 4 บ้านแม่โถใต้
5.) หมู่ 5 บ้านแม่อุมพาย
6.) หมู่ 6 บ้านแม่จอ
7.)
8.) หมู่ 8 บ้านห้วยไม้ซาง
ตำบลแม่นาจาง ประกอบด้วยหมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน
1.)
2.)
3.)
4.)
5.)
6.)
7.)
ตำบลขุนแม่ลาน้อย ประกอบด้วยหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน
1.)
2.)
3.)
4.)
5.)
ตำบลท่าผาปุ้ม ประกอบด้วยหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน**
1.) หมู่ี่ 1 บ้านแม่สะกึ๊ด บ้านหย่อม บ้านแม่กวางใต้
2.)หมู่ 2 บ้านห้วยผึ้ง,บ้านหย่อม,บ้านสามหมอก,บ้านกิ่ว,บ้านแม่ปอถ่า
3.) หมู่ 3 บ้านห้วยหมากหนุน บ้านหย่อม บ้านขุนแม่เตี๋ยน้อย บ้านห้วยกองข่อ
4.) หมู่ี่ 4 บ้านท่าผาปุ้ม
5.) หมู่ 5 บ้านแม่เตี๋ย
6.) หมู่ 6 บ้านแม่สะกั๊วะ บ้านหย่อม บ้านแม่กองแป
7.) หมู่ี่ 7 บ้านแม่กวางเหนือ
8.) หมู่ 8 บ้านใหม่พัฒนา
ตำบลห้วยห้อม ประกอบด้วยหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน
1.)หมู่ 1 บ้านห้วยห้อม
2.)หมู่ 2
3.)หมู่ 3 บ้านดง
4.)หมู่ 4 บ้านห้วยห้า
5.)หมู่ 5 บ้านห้วยห้าใหม่
6.)หมู่ 6 บ้านละอูบ
7.)หมู่ 7
8.)หมู่ 8


8 องค์การบริหารส่วนตำบล
1. อบต.แม่ลาน้อย
2. อบต.แม่ลาหลวง
3. อบต.ท่าผาปุ้ม
4. อบต.แม่โถ
5. อบต.ห้วยห้อม
6. อบต.แม่นาจาง
7. อบต.สันติคีรี
8. อบต.ขุนแม่ลาน้อย

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
อาชีพหลัก ได้แก่ เกษตรกรรม
อาชีพเสริม ได้แก่
จักสาน ตีเหล็ก เครื่องเงิน ทอผ้า แกะสลักไม้
จำนวนธนาคาร
มี 2 แห่ง ได้แก่1.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร.0-5368-91512.ธนาคารออมสิน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ

ป่าไม้

ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ถั่วเหลือง กระเทียม กะหล่ำปลี กาแฟ(อราบีก้า)
ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญ (แม่น้ำ/บึง/คลอง) แม่น้ำยวม แม่น้ำแม่ลาหลวง แม่น้ำแม่ลาน้อย
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ
โรงโม่หิน พี.วี.ศิลาทิพย์ ม.14 ต.แม่ลาน้อย

ที่ตั้งและอาณาเขต





ที่ตั้งและอาณาเขต

พิกัด 18?23?4?N97?56?13?E
รหัสทางภูมิศาสตร์ 5805
เนื้อที่/พื้นที่ 1,456,645 ตารางกิโลเมตร


สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป
หน้าร้อนอากาศร้อนจัด หน้าฝนฝนตกหนัก และค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว

ที่ตั้งและอาณาเขตของอำเภอแม่ลาน้อย
ทิศเหนือ จรด อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ จรด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก จรด อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม
ทิศตะวันตก จรด อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ รัฐกะยา ประเทศพม่า
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่อำเภอแม่ลาน้อย เป็นพื้นที่ป่าเขาสูงชันและป่ารกทึบ มีพื้นที่ราบร้อยละ 9 ของพื้นที่ทั้งหมด มีลำน้ำที่สำคัญ 3 สาย คือ ลำน้ำ ยวม ลำน้ำแม่ลาน้อย ลำน้ำแม่ลาหลวง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางหารเกษตร คือ ปลูกข้าว ถั่วเหลือง กะหล่ำปลี และกระเทียม
ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศอำเภอแม่ลาน้อยเป็นลักษณะอากาศแบบมรสุม มีสามฤดู คือ ฤดูร้อนฤดูฝนและฤดูหนาว




ที่มา : http://www.maelanoi.net/

ข้อมูลทั่วไป


อักษรไทย อำเภอแม่ลาน้อย
อักษรโรมัน Amphoe Mae La Noi
จังหวัด แม่ฮ่องสอน
รหัสไปรษณีย์ 58120
คำขวัญอำเภอ
แม่ลาน้อยเลิศล้ำ ถ้ำแก้วงามวิจิตร

ผลผลิตถั่วเหลือง ลือเลื่องวัดแม่ปาง

เมืองสร้างคนดี ประเพณีเขาวงกต
ที่อยู่ที่ว่าการอำเภอ
ถ.แหล่งพาณิชย์ ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน 58120
ด้านสังคม

โรงเรียนมัธยม ได้แก่
โรงเรียนแม่ลาน้อยดรุณสิกข์ โทร.0-5368-9242

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 21 โทร.0-5368-9248

ด้านประชากร

1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 30,145 คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 15,542 คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 14,934 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 23 คน/ตร.กม.


ที่มา : http://www.maelanoi.net/


ประวัติอำเภอแม่ลาน้อย

ประวัติอำเภอแม่ลาน้อย


อำเภอแม่ลาน้อยท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของอำเภอแม่ลาน้อย ในปัจจุบันนี้แต่เดิม เป็นที่อยู่ของชนเผ่า “ลั๊ว” หรือ “ละว้า” ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่ตั้งรกรากถิ่นฐาน ตามสองฝั่งลำน้ำยวมและลำน้ำแม่ลาน้อย ซึ่งไหลมาจากอำเภอขุนยวม มาผ่านตำบลแม่ลาหลวง แต่เดิมเรียกว่า ลำน้ำแม่ลั๊วะหลวงและแม่ลั๊วะน้อย ต่อมาชาวเขาเผ่าลั๊วะได้อพยพไปทำมาหากินในถิ่นอื่น ชาวไทยใหญ่ หรือ “เงี้ยว “ ได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยริมลำน้ำทั้งสองแทน จึงทำให้การเรียกชื่อของลำน้ำผิดไปจากเดิม มาเป็นลำน้ำแม่ลาน้อยและลำน้ำแม่ลาหลวง

ปี พ.ศ.2510 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศรวมเขตตำบลแม่ลาหลวง ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอขุนยวม รวมกันกับตำบลแม่ลาน้อย ที่อยู่ในปกครองของอำเภอแม่สะเรียง ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า “กิ่งอำเภอแม่ลาน้อย”
ปี พ.ศ.2515 กระทรวงมหาดไทย ได้อนุมัติแยกตำบลแม่ลาน้อย และตำบลแม่ลาหลวง ออกไปอีก 2 ตำบล คือ ตำบลท่าผาปุ้ม และตำบลแม่โถ และเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2518 กระทรวงมหาดไทย ได้ตราพระราชกฤษฏีกายกฐานะกิ่งอำเภอแม่ลาน้อย เป็นอำเภอแม่ลาน้อย และในปี พ.ศ.2526 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งตำบลเพิ่มขึ้นอีก 2 ตำบล คือ ตำบลห้วยห้อม และตำบลแม่นาจาง และในปี พ.ศ.2535 ได้จัดตั้งเพิ่มอีก 2 ตำบล คือ ตำบลสันติคีรี และตำบลขุนแม่ลาน้อย รวมทั้งสิ้นในปัจจุบันนี้มี 8 ตำบล

เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีแนวคิดในการจัดตั้งกิ่งอำเภอขึ้นมาใหม่ โดยแยก ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่สะเรียง ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอ ขุนยวม รวมกันเป็นกิ่งอำเภอ ชื่อว่ากิ่งอำเภอแม่ลาน้อย ต่อมาเมื่อปี พ. ศ. 2501 ได้มีรายงานการขอจัดตั้งกิ่งอำเภออย่างเป็นทางการ โดยนายอำเภอแม่สะเรียงให้ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภอแม่สะเรียง แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ตำบล คือตำบลแม่ลาน้อย ตำบลแม่ลาหลวง การคมนาคมในสมัยนั้นเดินทางได้ 2 ทางคือทางบกและทางน้ำ การเดินทางโดยทางบกจะทำการเดินทางด้วยเท้า มี แพะ แกะ ช้าง ม้า เป็นพาหนะ ส่วนการเดินทางโดยทางน้ำใช้แพเป็นพาหนะ โดยอาศัยลำน้ำแม่ลาหลวงสู่แม่น้ำ ยวมผ่าน ตำบลแม่ลาน้อย ปัจจุบัน อำเภอแม่ลาน้อย ตั้งอยู่ทิศใต้ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน การเดินทางจากอำเภอไปจังหวัดสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 108 ระยะทาง 134 กิโลเมตร

ที่มา :http://www.maelanoi.net


ผู้สนับสนุน